Posted inบทความของเรา ฟิลเลอร์ 14 วัน ก่อนฉีดฟิลเลอร์ควรเตรียมตัวอย่างไร? May 2, 2023 สารบัญ 14 วัน ก่อนฉีดฟิลเลอร์ 1. ศึกษาหาข้อมูลคลินิกที่จะไปฉีดฟิลเลอร์ คลินิกต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการ ที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อตรวจสอบว่าเป็นคลินิกที่ได้รับมาตรฐานคลินิกต้องมีป้ายชื่อ และเลขที่ใบอนุญาต จำนวน 11 หลัก ติดไว้ที่หน้าคลินิก ให้เห็นอย่างชัดเจนคลินิกต้องมีความน่าเชื่อถือ คลินิกต้องสะอาด และมีความปลอดภัยต่อผู้ที่เข้ามาใช้บริการเครื่องมือ อุปกรณ์ มีปริมาณเพียงพอ ไม่เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุมีข้อความแสดงวัน เวลา เปิด – ปิด บริการไว้ในที่เห็นได้ชัดเจน 2. ศึกษาข้อมูลแพทย์ที่ฉีดฟิลเลอร์ แพทย์ผู้ทำการฉีดฟิลเลอร์ ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ มีการแสดงภาพถ่าย ชื่อ และเลขที่ใบอนุญาตของผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ไว้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน แพทย์ผู้ทำการฉีดฟิลเลอร์ ต้องมีเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ ปรับรูปหน้าที่ถูกต้อง แพทย์ผู้ทำการฉีดฟิลเลอร์ ต้องมีประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์ สามารถอธิบาย และแนะนำได้อย่างถูกต้อง 3. ศึกษาข้อมูลฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ที่จะฉีด ต้องเป็นฟิลเลอร์แท้ ได้รับมาตราฐาน อย. ในประเทศไทยบนกล่องฟิลเลอร์ จะมีฉลากภาษาไทย พร้อมราคา วันหมดอายุระบุข้างกล่องฟิลเลอร์ที่จะฉีด ต้องเป็นฟิลเลอร์ประเภท ไฮยาลูรอน 100%ฟิลเลอร์สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นของแท้ หรือ ของปลอมฟิลเลอร์จะต้องมีราคาที่เหมาะสม 7 วัน ก่อนฉีดฟิลเลอร์ 1. งด วิตามิน John’s WortGinkgo BilobaEvening Primrose Oil 2. งดยา แอสไพรินNSAIDs เช่น Ibuprofen , Diclofenac , Ponatan 3 วัน ก่อนฉีดฟิลเลอร์ งดยาทาผลัดเซลล์ผิว เช่น Tretinoin (Retin-A), Retinols, Retinoids, Glycolic Acid หรือครีมในกลุ่ม Anti-Agingงดการดึงขน หรือ โกนขนบริเวณที่จะฉีดฟิลเลอร์งดแว็กผิว ผลัดเซลล์ผิวบริเวณที่จะฉีดฟิลเลอร์งดเลเซอร์ และ นวดหน้า 24 ชม. ก่อนฉีดฟิลเลอร์ งดดื่มแอลกอฮอล์งดกิจกรรมที่ทำให้เลือดสูบฉีด เช่น ซาวน่า ออกกำลังกายชนิด Cardioหากมีโรคประจำตัว หรือมียาที่กินเป็นประจำ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนทำทุกครั้ง เมื่อมาถึงคลินิก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉีดฟิลเลอร์ จะต้องแนะนำคนไข้ในการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดแพทย์จะต้องให้คนไข้ตรวจสอบว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ กล่องฟิลเลอร์ปิดผนึกสนิทคนไข้สามารถแจ้งได้ว่า จะขอแปะยาชา และ ฉีดยาชา หรือจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนฉีดฟิลเลอร์ก็ได้ในบางเคส แพทย์อาจพิจารณาให้กินยาห้ามเลือด หรือ ฉีดยาลดบวม เพื่อลดความเสี่ยงในการอักเสบติดเชื้อ หรือบวมช้ำได้ที่อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ รีวิว Moriko Clinic Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo. Related posts:ทำความรู้จักกับ HA (Hyaluronic Acid) คืออะไร และอันตรายหรือไม่ทำความรู้จักกับ PRP พลาสมาจากเลือดที่มากประโยชน์!สาเหตุการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน แล้วจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร? Post navigation Previous Post ทำความรู้จักกับ HA (Hyaluronic Acid) คืออะไร และอันตรายหรือไม่Next Postปัญหาขมับยุบ แก้ง่าย แก้ได้ด้วยฟิลเลอร์