Posted inบทความของเรา ฮอร์โมน มาทำความรู้จักกับ “ฮอร์โมน” สารสำคัญจากต่อมไร้ท่อกัน! July 18, 2023 สารบัญ ฮอร์โมนคืออะไร? “ฮอร์โมน” คำคุ้นหู ที่มักได้ยินจากหมอ แต่ก็ไม่เคยรู้เลยว่าจริง ๆ แล้ว “ฮอร์โมน” คืออะไร แล้วการเจ็บป่วยของร่างกายเกี่ยวอะไรกับฮอร์โมน วันนี้ หมอเบิร์ด มีคำตอบ ฮอร์โมนทำงานอย่างไร? เมื่อต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนออกมา ฮอร์โมนจะถูกดูดเข้ากระแสเลือด หลังจากนั้นกระแสเลือดจะพาฮอร์โมนวิ่งไปยังเซลล์เป้าหมายตามเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย จึงทำให้ฮอร์โมนสามารถวิ่งไปได้ทั่วร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น มีฮอร์โมนออกจากรังไข่ ฮอร์โมนรังไข่ก็วิ่งไปที่สมองได้เนื่องจากกระแสเลือดพาไป สิ่งที่ทำให้แต่ละเซลล์ในร่างกายแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับตัวรับ โดยฮอร์โมนแต่ละชนิด เปรียบเสมือน “กุญแจ” กุญแจของฮอร์โมนแต่ละชนิด จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน และเซลล์ของอวัยวะแต่ละชนิดจะมีรูกุญแจ(Recepter) ที่แตกต่างกัน เมื่อเสียบกุญแจแล้วไขไม่ได้ ฮอร์โมนจะไม่สามารถเข้าไปในเซลล์นั้น แต่ในทางกลับกันหากเสียบกุญแจแล้วไขได้ ฮอร์โมนจะเข้าไปในเซลล์นั้นและออกฤทธิ์ ทำให้เซลล์มีรูปร่าง การทำงานที่ต่างกัน ฮอร์โมนมีหน้าที่อย่างไร? ฮอร์โมนมีหน้าที่ควบคุม หมายถึง ฮอร์โมนไม่ได้ให้สารอาหารเหมือนกับวิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างร่างกาย แต่ฮอร์โมนมีหน้าที่สั่งกระบวนการทำงานของร่างกายที่มีอยู่แล้ว โดยภายในเซลล์จะมีการทำงานหลายอย่าง หากเปรียบเซลล์เป็นโรงงาน ภายในโรงงานจะมีเครื่องจักรอยู่หลายตัว ฮอร์โมนจะเป็นตัวสั่งว่าให้เครื่องจักรไหนทำงาน (กระตุ้น) หยุดทำงาน (ยับยั้งการสลาย) หรือปรับสมดุลการสร้างพลังงานของร่างกาย ฮอร์โมนจึงควบคุม การเจริญเติบโต (growth), การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (differentiation), การซ่อมแซมตัวเอง (regeneration), ระบบสืบพันธุ์ (reproduction), เม็ดสี (pigmentation), พฤติกรรม (behavior), กระบวนการเผาผลาญ (metabolism), ควบคุมสมดุลสารเคมี (chemical homeostasis) อวัยวะใดบ้างที่หลั่งฮอร์โมน? สมอง (Pineal gland) หลั่ง Melatoninต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) หลั่ง ADH, Oxytocin, Growth Hormone, Prolactinต่อมไทรอยด์ หลั่ง Thyroid Hormoneต่อมไทมัส หลั่ง Parathyroid Hormoneต่อมหมวกไต หลั่ง Norepinephrine, Epinephrine, Cortisol, Aldosteroneตับอ่อน หลั่ง Insulin, Glucagonรังไข่ หลั่ง Estrogen, Progesteroneอัณฑะ หลั่ง Testosterone ระยะเวลาการทำงานของฮอร์โมนเป็นอย่างไร? ฮอร์โมนจะถูกหลั่งออกมาเข้ากระแสเลือดในปริมาณที่น้อยมากๆ และใช้ระยะเวลาในการออกฤทธิ์แบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น วินาที, นาที, ชั่วโมง, วัน หรือเป็นสัปดาห์ นอกจากฮอร์โมนจะทำให้เซลล์แตกต่างกันแล้ว ยังทำให้แต่ละคนดูแตกต่างกันโดยที่เราสามารถแยกออกได้ว่า ใครอยู่ในช่วงอายุประมาณเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงอายุ 0-10 ปี,10-20 ปี, 20-40 ปี, 40-60 ปี และ 60-80 ปี ระดับฮอร์โมนในแต่ละช่วงอายุแตกต่างกันอย่างไร? เด็กช่วงอายุประมาณ 0-10 ปี ยังไม่สามารถแยกเพศจากการดูหน้าเด็กได้ชัดเจน เช่น เด็กผู้ชายที่ไว้ผมยาว อาจถูกมองว่าเป็นเด็กผู้หญิงก็ได้ ช่วงอายุ 10-20 ปี สามารถแยก เพศหญิง เพศชายได้แล้ว เว้นแต่จะไปกินยาฮอร์โมนบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถแยกเพศได้ ช่วงอายุ 20- 40 ปี สามารถแยกเพศหญิง เพศชายได้ และเป็นช่วงที่ฮอร์โมนของเราดีที่สุดในชีวิต หลังจากนั้นจะค่อยๆลดลง ช่วงอายุ 40-60 ปี จะดูแตกต่างออกไป สามารแยกได้ชัดเจน ช่วงอายุ 60–80 ปี ก็จะมีลักษณะที่เปลี่ยนไป ระดับฮอร์โมนของคนเรานั้นจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนถึงช่วงอายุ 20-40 ปี หลังจากนั้นจะลดลงตามธรรมชาติ แต่จะลดลงเร็ว หรือช้า ขึ้นอยู่กับความเสื่อมของร่างกาย หากมีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนจะเป็นอย่างไร? จากที่ฮอร์โมนมีหน้าที่ควบคุมการทำงานในหลาย ๆ ด้านของร่างกาย เมื่อเกิดภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ร่างกายจะมีอาหารต่างๆ แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ดูแก่กว่าวัยประจำเดือนมาผิดปกตินอนไม่หลับ นอนไม่ได้ประสิทธิภาพ นอนหลับไม่สนิทมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายผิวแห้ง เล็บเปราะ ผมร่วงหิวบ่อย กินจุหลงๆ ลืมๆ ความจำไม่ดีอ่อนเพลีย ไม่สดชื่นความต้องการทางเพศลดลง ปัจจัยใดบ้างมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน การหลั่งของฮอร์โมน จะส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย หากต้องการให้ร่างกายเสื่อมช้า และทำให้ฮอร์โมนสมดุล จะต้องมีวิถีชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ที่ดี ได้แก่ อาหาร – ควรกินอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด เพราะอาหารที่มีแปรรูป ได้รับความร้อนสูงๆ หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูงๆ จะส่งผลให้สารอาหาร และกากใยหายไป รวมถึงทำให้เกิดอนุมูลอิสระอาหารเสริม – จากอาหารปัจจุบัน พบว่ามีคนที่ขาดสารอาหารจำนวนมาก เมื่อขาดสารอาหารร่างกายจะซ่อมแซมตนเองไม่พอ จึงควรทานสารอาหารเสริมเพิ่มเติมการนอน – จะต้องนอนหลับได้โดยที่ไม่ใช้ยานอนหลับ นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนอนได้ 7-9 ชั่วโมงการออกกำลังกาย – การไม่ออกกำลังกาย ถือเป็นความเสี่ยงของสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ แต่การออกกำลังกายก็ทำให้ร่างกายเกิดอนุมูลอิสระ คนที่ออกกำลังจึงควรกินสารต้านอนุมูลอิสระด้วยความเครียด – เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย หลายคนอาจคิดว่าตนเองไม่ได้เครียด แต่พฤติกรรมที่ทำนั้นทำให้ร่างกายเครียด เช่น การนอนดึก อดนอน อดอาหาร ทำ IFผ่อนคลาย – หากิจกรรมที่ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ ฟังเพลง ดูหนังตลก อ่านหนังสือท่องเที่ยว การที่มีวิถีชีวิต และไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ทำให้การแก้ปัญหาฮอร์โมนของแต่ละคนแตกต่างกันไปด้วย สามารถสอบถาม และปรึกษา เพื่อปรับไลฟ์สไตล์ให้ดียิ่งขึ้นได้ที่ Moriko Plus Clinic Related posts:ภัยเงียบของความเครียด อันตรายกว่าที่คิดฉีดวิตามินผิว IV DRIP คืออะไร? ช่วยเรื่องอะไร?Diode laser คืออะไร? ทำบริเวณไหนได้บ้าง? Post navigation Previous Post เสริมโหงวเฮ้งปาก ด้วยเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ปากNext Postรู้จัก “โกร์ธฮอร์โมน” ฮอร์โมนสำคัญของคนเราหรือไม่?