Posted inAntiAging บทความของเรา 6 อาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค August 29, 2023 สารบัญ 6 อาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็มีแต่อาหารที่พร้อมทาน ง่าย และ สะดวก ในช่วงเวลาที่เร่งรีบ และเราก็มักทานอาหารเหล่านั้น จนลืมใส่ใจในเรื่องของสารอาหาร และความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอาหารนั้น อาหารอะไรบ้าง ที่เราไม่ควรทาน เพื่อที่ร่างกายของเราจะได้ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค 1.ผลิตภัณฑ์จากนม ในนมวัวมีน้ำตาลแลตโตส ที่ร่างกายย่อยไม่ได้ เมื่อทานเข้าไป อาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนได้ ร่างกายของคนเราจะมีจุลินทรีย์ที่ดี มีทั้งแบคทีเรีย และเชื้อรา ช่วยย่อยอาหารที่ร่างกายไม่มีน้ำย่อย เมื่อทานนมเข้าไปจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้ จะย่อยน้ำตาลแลตโตสที่อยู่ในนม เนย ชีส ทำให้เกิดภาวะ Yeast Overgrowth (ภาวะที่ยีนส์เจริญเติบโตมากเกินไป) กระบวนการย่อยของเชื้อราดังกล่าวเป็นการหมัก จึงทำให้เกิดแก๊ส ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม กาแฟใส่นม ครัวซอง ขนมปังทาเนย ชานมไข่มุก ชีส ผลเสียจากการทานผลิตภัณฑ์จากนม ท้องผูก กรดไหลย้อนสิวเรื้อรังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก เพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวาน หลายคนมักกังวลว่า หากไม่ทานนม ร่างกายจะไม่ได้รับแคลเซียม ซึ่งความจริงแล้ว แคลเซียมยังมีใน กุ้ง ปลา ผัก และหากต้องการทานนม สามารถเลือกทานนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แทนนมวัวได้ 2.น้ำตาล น้ำตาลกระตุ้นการเกิดภาวะ Yeast Overgrowth (ภาวะที่ยีนส์เจริญเติบโตมากเกินไป) ที่กระตุ้นการอักเสบ เช่น หากมีภาวะปวดตามข้อ หลังจากทานน้ำตาลเข้าไปประมาณ 24 ชั่วโมง อาการปวดจะมีเพิ่มมากขึ้น ผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน เค้ก ไอศกรีม ช็อคโกแลต น้ำตาลเทียม ผลเสียจากการทานผลิตภัณฑ์น้ำตาล เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ คอลเลสเตอรอลลดระดับ HDL ที่เป็นไขมันดีเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)ลดการหลั่งโกรธ์ฮอร์โมน (Growth Hormone)กระตุ้นการเกิดมะเร็งกระตุ้นให้สิวอักเสบทำให้แก่ก่อนวัย หากอยากทานอาหารที่มีความหวาน สามารถทานผลไม้สดหวานน้อยแทนได้ แต่ก็ไม่ควรทานในปริมาณที่มาก 3.ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) ไขมันทราน (Trans-Fatty acid/ Hydrogenated Fat) คือ การทำให้น้ำมันที่เป็นของเหลวกลายมาเป็นของแข็ง หรือไขมันดัดแปลง เช่น เนยเทียม มาการีน นมข้นหวาน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ที่ทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตัน ส่วนคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ หากทานในปริมาณที่เหมาะสมไม่ใช่ตัวอันตราย เพราะร่างกายของคนเราสร้างคอเลสเตอรอลได้เอง โดยคอเลสเตอรอลเป็นสารต้นกำเนิดของฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนที่ช่วยต่อสู้กับความเครียด เมื่อจัดการกับความเครียดได้คอเลสเตอรอลจะลดลงได้เอง โดยไม่ต้องทานยา 4.แอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะทำให้เกิดภาวะ Yeast Overgrowth (ภาวะที่ยีนส์เจริญเติบโตมากเกินไป) ทำลายผนังลำไส้ ทำให้กระบวนการดูดซึมสารอาหารลดลง เกิดเป็นภาวะขาดวิตามิน และแร่ธาตุ ผลเสียจากการดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มความเครียด เครียดง่ายเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย และมะเร็งเต้านมในผู้หญิงเนื้อเยื่อสมองฝ่อทำให้ไตทำงานหนัก เสี่ยงโรคไตกรดไหลย้อนเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจเสี่ยงภาวะตับแข็งสมรรถภาพทางเพศลดลง ขนาดอัณฑะลดลง ทำให้มีบุตรยาก 5.คาเฟอีน ปริมาณที่ควรทาน กาแฟดำวันละ ครึ่งแก้ว ช่วยให้ตื่นตัว เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความเครียดตลอดวัน แต่หากทานในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ผลเสียจากการดื่มคาเฟอีนที่มากเกินไป ทำให้ผิวแห้งไตทำงานหนักรู้สึกหงุดหงิดง่ายเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวานเสี่ยงต่อภาวะต่อมลูกหมากโต 6.อาหารสำเร็จรูป (Processed Food) อาหารที่นำมาแปรรูป แปลงสภาพจนมองไม่ออกว่าทำมาจากอะไร เช่น ขนมปัง เบเกอรี คุกกี้ น้ำตาลทราย ไส้กรอก ลูกชิ้น เส้นก๋วยเตี๋ยว สปาเก็ตตี้อาหารที่ผ่านความร้อนสูง มากเกินกว่า 100 องศาเซลเซียล เช่น ผัด ทอด อบ ปิ้ง ย่าง เผา รมครัว เข้าไมโครเวฟ อาหารแปรรูปและอาหารที่ผ่านความร้อนสูง ทำให้คุณค่าทางสารอาหาร เช่น วิตามิน แร่ธาตุ หายไป อาหารที่ควรทานและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น นึ่ง ต้ม ตุ๋น ลวก ผลเสียของการทานอาหารสำเร็จรูป เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารกรดไหลย้อนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต จาก 6 ประเภทอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนั้น จะเห็นว่า เป็นอาหารที่เราสามารถหาทานได้ง่าย สะดวกและอร่อย จนลืมไปว่าอาหารเหล่านี้ เป็นอาหารที่อันตรายต่อสุขภาพของเรา และเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย หากคุณเป็นคนที่ชอบทานอาหารเหล่านี้ หรือทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำ แต่ก็อยากจะมีสุขภาพที่ดี ไม่ป่วย คุณสามารถเข้ามาปรึกษากับ แพทย์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญด้านชะลอวัยได้ที่ facebook หรือ Line เพื่อเพิ่มความมั่นใจได้เลย Related posts:ดูแลระบบย่อยอาหาร ให้ทำงานปกติด้วย Probiotic และ Prebioticข้อดี ข้อเสีย ของการฉีดฟิลเลอร์ไฮฟู คืออะไร เหมาะกับใคร ช่วยเรื่องอะไร Post navigation Previous Post Anti-Aging หรือ สุขภาพดีแบบองค์รวม เป็นอย่างไร?Next Postอาหารกรด-ด่างสูง มีวิธีเลือกทานอย่างไร?