Heavy metals โลหะหนัก อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

Heavy metals โลหะหนัก อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

สารบัญ

โลหะหนัก (Heavy metals)

            metals (โลหะ) แต่เดิม จะหมายถึง ทอง เงิน ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว และดีบุกเท่านั้น มีคุณสมบัติ หนาแน่น อ่อนตัวได้
(หากโดนทุบ หรือ โดนกดทับก็จะไม่แตกหักหรือแตกร้าว) เป็นมันเงา สามารถนำความร้อน และไฟฟ้าได้ แคตไอออน

            metalloids มีคุณลักษณะตรงกลางระหว่างโลหะ และอโลหะ เช่นสารหนู

            Heavy metals (โลหะหนัก) เป็นส่วนประกอบที่มีตามธรรมชาติ ไม่สามารถย่อยสลาย หรือทำลายได้ง่าย มีความหนาแน่นค่อนข้างสูง
และ อาจทำให้เกิดพิษได้ เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

            แต่โลหะหนักบางชนิด ก็มีความจำเป็นต่อระบบเผาผลาญของร่างกายมนุษย์ เช่น ทองแดง (CU) , ซีลีเนียม (Se) , สังกะสี (Zn)

โลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย ได้อย่างไร ?

  • การกินอาหาร
  • ปนเปื้อนในน้ำ
  • สูดดม
  • สัมผัสทางผิวหนัง

            โดยโลหะหนักส่วนมาก เกิดจากกระบวนการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม ที่ปล่อยออกมา และ สะสมอย่างช้า ๆ ในน้ำ และดิน
บริเวณรอบโรงงานอุตสาหกรรม

โลหะหนักอันตรายอย่างไร ?

1.สารหนู (As)

แหล่งที่มา

  • ยาฆ่าแมลง สารกำจัดศัตรูพืช สารฆ่าเชื้อรา
  • การผลิตเหล็ก กระจก
  • การเผาไหม้ของถ่านหิน และไม้
  • ควันบุหรี่
  • น้ำที่ปนเปื้อนสารหนู
  • ฝุ่น
  • วอลเปเปอร์
  • อาหารทะเล เนื้อสัตว์

เข้าสู่ร่างกาย

  • สูดดม
  • กิน กลืน

ผลกระทบต่อร่างกาย

  • อาเจียนอย่างรุนแรง
  • ท้องเสีย
  • ทำลายตับ และ ไต
  • ทำลายระบบทางเดินอาหาร
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • สารก่อมะเร็ง
  • ปลายประสาทอักเสบ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
  • เสียชีวิต

2.แคดเมียม (Cd)

แหล่งที่มา

  • การเผาไหม้ถ่านหิน
  • เผาของเสียที่มีแคดเมียม
  • ส่วนผสมในแบตเตอรี่
  • เป็นเม็ดสีในสีเหลือง
  • ในโซลาร์เซลล์ และจอทีวี
  • ควันบุหรี่
  • ปุ๋ย และ ยาฆ่าแมลง
  • อาหารทะเล เครื่องในสัตว์
  • มันฝรั่ง ข้าว และธัญพืช

เข้าสู่ร่างกาย

  • กินอาหาร

ผลกระทบต่อร่างกาย

  • ทำลายตับ ไต ลำไส้ และ กระดูก
  • กระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
  • ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียน
  • ทำลายระบบสืบพันธุ์
  • อันตรายต่อระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน
  • ปวดข้อรุนแรง
  • สารก่อมะเร็ง
  • เสียชีวิต

3.โครเมียม (Cr)

แหล่งที่มา

  • พบมากในอุตสาหกรรมเหล็ก และ สิ่งทอ
  • บุหรี่
  • อุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
  • สารฟอกหนัง
  • สะสมในน้ำ และอากาศ

เข้าสู่ร่างกาย

  • สูดดม

ผลกระทบต่อร่างกาย

  • มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากขาดเสี่ยงโรคหัวใจ และทำให้ระบบเผาผลาญไม่ดี

ข้อเสีย

  • ผื่นผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย
  • ทำลายปอด ไต และตับ
  • ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
  • ระคายเคืองต่อระบบหายใจ
  • ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
  • เป็นสารก่อมะเร็ง

 

4.ปรอท (Hg)

แหล่งที่มา

  • ใช้ผสมกับทองคำ เงิน และดีบุก
  • ใช้อุดฟัน
  • ปลา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในทะเล
  • ส่วนประกอบ สวิตช์ไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดปรอท
  • การเผาขยะ
  • แบตเตอรี่

เข้าสู่ร่างกาย

  • สูดดม เข้าปอดได้ 100%

ผลกระทบต่อร่างกาย

  • ท้องผูก
  • ทำลายปอด ตับ และไต
  • อันตรายต่อลำไส้ ระบบประสาท
  • ทำให้เกิดอาการออทิสติก
  • ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ และผิวหนัง
  • เป็นพิษต่อทารกในครรภ์มารดา เสี่ยงแท้งบุตร
  • สารก่อมะเร็ง
  • อ่อนล้า ปวดศีรษะ
  • นอนไม่หลับ
  • เสี่ยงอัมพาต

5.ตะกั่ว (Pb)

แหล่งที่มา

  • โครงสร้างอาคาร มุงหลังคา การทาสีอาคาร
  • พบในอุตสาหกรรมเหมืองแร่
  • ควันบุหรี่
  • กระสุน
  • การผลิตแบตเตอรี่
  • การเผาไหม้ขยะมูลฝอย
  • การเผาไหม้เชื้อเพลิง

เข้าสู่ร่างกาย

  • สูดดม

ผลกระทบต่อร่างกาย

  • ตะกั่วสะสมอยู่ในกระดูก 90% และอยู่ในตับ และ ไต 10%
  • เสี่ยงกล้ามเนื้ออ่อนแรง โลหิตจาง นอนไม่หลับ
  • ความจำเสื่อม ปวดศีรษะ
  • ทำลายปอด ไต และ ตับ
  • มีอาการเบื่ออาหาร และคลื่นไส้
  • เสี่ยงแท้งบุตร ทำลายระบบสืบพันธุ์
  • เด็กก้าวร้าว สมาธิสั้น
  • ขัดขวางพัฒนาการของเด็ก
  • โลหิตจาง
  • เสียชีวิต

6.อลูมิเนียน (AI)

แหล่งที่มา

  • เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในอากาศ น้ำ และดิน

เข้าสู่ร่างกาย

  • สูดดม
  • การกลืนกิน
  • สัมผัสทางผิวหนัง

ผลกระทบต่อร่างกาย

  • โลหิตจาง
  • เป็นพิษต่อปอด
  • ท้องอืด
  • ปวดศีรษะ
  • มีภาวะสมองเสื่อม อัลไซเมอร์
  • ลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • ฟันผุ
  • ตับ และไต ทำงานผิดปกติ
  • เป็นพิษต่อระบบประสาท พาร์กินสัน
  • เป็นพิษต่อกระดูก กระดูกพรุน และเม็ดเลือด

          โลหะหนักที่อยู่ในร่างกาย สามารถบำบัดได้ด้วยการทำคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) ที่ Moriko Plus Clinic
การทำคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) อยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์
สามารถสอบถามรายละเอียด หรือ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ facebook หรือ Line เพื่อเพิ่มความมั่นใจได้เลย

Loading