Posted inบทความของเรา ดูแลระบบย่อยอาหาร ให้ทำงานปกติด้วย Probiotic และ Prebiotic September 22, 2023 สารบัญ Probiotic และ Prebiotic ในปัจจุบัน คำว่า Probiotic (โพรไบโอติกส์) และ Prebiotic (พรีไบโอติกส์) เป็นคำที่คุ้นหู และคุ้นตาของใครหลาย ๆ คน เรามักจะรู้จัก Probiotic (โพรไบโอติกส์) และ Prebiotic (พรีไบโอติกส์) ว่ามีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหารมีความสำคัญมากต่อระบบภายในร่างกาย เราจึงควรดูแลระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำว่า Probiotic ถูกพูดถึงครั้งแรกในปี 1907 โดย Metchnkoff ซึ่ง Probiotic หมายถึง microorganisms (จุลินทรีย์) ที่มีชีวิต และมีประโยชน์ต่อร่างกาย การเพิ่มจำนวนให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีปริมาณเพียงพอ และสมดุล จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี และช่วยป้องกันการเจ็บป่วย ส่วน Prebiotic มีความหมายสั้น ๆ ว่าเป็นอาหารสำหรับ Probiotic ช่วยให้ Probiotic เจริญเติบโตได้ดีในลำไส้ Prebiotic มีคำนิยามว่าเป็น Nondigestible substances หมายถึง อะไรก็ได้ ที่ไม่สามารถย่อยได้ และให้ประโยชน์กับ Probiotic เช่น inulin , (FOS) Fructo-oligosaccharide และ polydextrose วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ Probiotic ต้องดูอาการว่า สาเหตุที่จะกิน Probiotic นั้น เนื่องจากมีอาการอะไร เช่น ปวดท้อง ขับถ่ายยากดูข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์ โดยต้องระบุสายพันธุ์ของ Probiotic เพราะแต่ละสายพันธุ์ช่วยในเรื่องที่แตกต่างกัน และควรสลับยี่ห้อที่ทานไปเรื่อย ๆ เพื่อที่ร่างกายจะได้รับหลายสายพันธุ์ปริมาณ Probiotic ที่ควรได้รับประมาณ 10,000 ล้านตัว ต่อวัน Probiotic ที่ดีควรทานก่อนนอนเพราะ Probiotic มักไม่ทนต่อความเป็นกรด เว้นแต่ Probiotic บางยี่ห้อที่นำนวัตกรรมมาใช้ ทำให้ Probiotic มีความสามารถทนต่อความเป็นกรดในกระเพาะได้ Probiotic มีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหารอย่างไร ? ช่วยลดอาการท้องเสียช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารช่วยลดอาการแพ้แลคโตสช่วยลดภาวะลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวนช่วยรักษาแผลในลำไส้ช่วยลดอาการท้องร่วง (Diarrhea)ช่วยฟื้นฟูโรคสมองจากโรคตับ (hepatic encephalopathy)ช่วยเกี่ยวกับความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหาร (functional gastrointestinal disorders)ช่วยลดภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing Enterocolitis: NEC)ช่วยป้องกันการเกิดภาวะลำไส้รั่ว (LEAKY GUT SYNDROME) Probiotic มีความสำคัญต่อสมองอย่างไร ? ลำไส้กับสมองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในบางคนเรียก ลำไส้ ว่าเป็นสมองที่ 2 เพราะเราไม่สามารถคุมลำไส้ได้ ลำไส้จะถูกควบคุมโดย Microbiome มีการโยงกันระหว่างลำไส้กับสมอง จนเกิดเป็นโรคต่าง ๆ เช่นโรควิตกกังวลทั่วไป (Anxiety Disorder)โรคสมองติดยา (Addiction)โรคความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative Disease)ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome)โรคซึมเศร้า (Depression)โรคอ้วน (Obesity)โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) อะไรบ้าง ที่ทำลาย Probiotic อะไรบ้าง ที่ช่วยเสริม Probiotic Related posts:Heavy metals โลหะหนัก อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามทำไมจึงนิยม e.p.t.q. ฟิลเลอร์นำเข้าจากแดนเกาหลีปรับหน้าผาก เปิดโหงวเฮ้ง ด้วยการฉีด "ฟิลเลอร์" Post navigation Previous Post ภัยเงียบของความเครียด อันตรายกว่าที่คิดNext PostHeavy metals โลหะหนัก อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม