แบคทีเรียในลำไส้ เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอย่างไร?

แบคทีเรียในลำไส้ เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอย่างไร?

        “All disease begins in the gut” ทุกโรคเริ่มต้นมาจากลำไส้ คำนี้ Hippocrates พูดมามากกกว่า 2500 ปี เพื่อจะได้เข้าใจเกี่ยวกับลำไส้มากขึ้น เรามาเริ่มกันที่อธิบายคำศัพท์เหล่านี้ก่อน

        Microbiota เป็นเรื่องของ microorganisms หรือ ที่หลายคนรู้จักกันในชื่อของ จุลินทรีย์ ซึ่ง จุลินทรีย์ เป็นคำที่เรียกรวม ๆ ของ เชื้อรา ไวรัส โดยไม่ได้จำกัดว่าเป็น แบคทีเรีย เพียงอย่างเดียว ซึ่งจุลินทรีย์นี้จะอาศัยอยู่กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ลำไส้ ผิวหนัง ช่องปาก เป็นต้น

       Microbiome เป็นเรื่องของ Microbiota ที่มีผลกระทบต่อยีน หรือมีผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่ Microbiota นั้นอาศัยอยู่ โดยผลกระทบนั้น มีทั้งดีและไม่ดี  

Microbiome มาจากไหน ?

      ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ จนถึงคลอด เราจะได้รับ Microbiome จากแม่ และเมื่อคลอดออกมา เราจะได้รับจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น บริเวณลานหัวนมแม่จะมี แบคทีเรีย เมื่อลูกดูดนมก็จะได้รับ Probiotic เข้าไปในลำไส้เด็กด้วย เด็กจึงแข็งแรง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Microbiome ที่ดีสำหรับทารกมีอะไรบ้าง ?

  • อาหาร กินนมแม่ ,กินผลไม้บด ไม่กินอาหารสำเร็จรูป
  • สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย เล่นกับดิน อยู่กับธรรมชาติ
  • การคลอด คลอดแบบธรรมชาติ เนื่องจากในช่องคลอดของแม่จะมีแบคทีเรียตัวดีอยู่
  • การรักษา ใช้สารอาหาร ใช้ธรรมชาติบำบัด โดยไม่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

         ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้จุลทรีย์ในลำไส้ เป็นจุลินทรีย์ที่ดี และหากในลำไส้มีจุลินทรีย์ที่ไม่ดี ก็จะส่งผลต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ภูมิแพ้ โรคอ้วน การอักเสบ ตามมา

แบคทีเรียในลำไส้มีหน้าที่อะไร ?

  • เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) เพื่อเป็นพลังงานให้ร่างกาย
  • กำจัดเชื้อโรค
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหาร เช่น แคลเซียม และธาตุเหล็ก
  • รักษา pH(ความเป็นกรด – ด่าง) ให้สมดุล
  • รักษาความสมบูรณ์ของเยื่อบุลำไส้
  • เผาผลาญยาที่กินเข้าไป
  • ควบคุมยีน
  • ต่อต้านสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
  • สร้างเอนไซม์ย่อยอาหาร
  • สร้างวิตามินบีรวม (ไทอามีน โฟเลต ไพริดอกซิ)
  • สร้างวิตามินที่ละลายในไขมัน (วิตามินเค)
  • สร้างฮอร์โมน
  • เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน และควบคุมภูมิคุ้มกันที่เกิน

กลไกการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้เป็นอย่างไร ?

  • แบคทีเรียในลำไส้ช่วยเสริมสร้างให้ลำไส้แข็งแรง ไม่ให้ลำไส้รั่ว
  • สร้างเมือก (Mucus) คลุมผิวลำไส้ เพื่อไม่ให้แบคทีเรียตัวที่ไม่ดีไปเกาะที่ผิวของลำไส้
  • แย่งจับเชื้อที่ไม่ดี
  • ผลิต กรดไขมันสายสั้น (SCFAs)
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ Microbiome ที่ลำไส้แย่ลง?

  • บุหรี่
  • แอลกอฮอล์
  • อาหาร
  • สิ่งแวดล้อม
  • ความเครียด
  • ยา
  • การอักเสบ
  • อายุที่มากขึ้น

Microbiome ที่แย่ลง ก่อให้เกิดโรคอะไรบ้าง ?

  • ภูมิแพ้
  • โรคอ้วน
  • โรคหอบหืด
  • ภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
  • โรคข้ออักเสบ
  • เบาหวาน
  • โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
  • โรคเกี่ยวกับกระดูก
  • ปัญหาผิว ผื่นคัน
  • โรคซึมเศร้า
  • ภาวะสมองเสื่อม
  • มะเร็ง
  • โรคลำไส้แปรปรวน
  • การอักเสบ

        หากมี Microbiome หลากหลายชนิด โอกาสในการเกิดโรคต่าง ๆ จะน้อยลงตามไปด้วย

        ที่ Moriko Plus Clinic มี IV Drip ที่เป็นสูตรเฉพาะ และได้มาตรฐานตามหลักเวชศาสตร์ชะลอวัย แพทย์มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ด้านศาสตร์ชะลอวัย

สามารถสอบถามรายละเอียด หรือ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ facebook หรือ Line