แค่นอนหลับร่างกายก็หายป่วย

แค่นอนหลับร่างกายก็หายป่วย

แค่นอนหลับ ร่างกายก็หายป่วย

      การนอนหลับ เป็นช่วงที่เรากึ่ง ๆ ไม่มีสติ สามารถปลุกตื่นได้ แม้ร่างกายหลับแต่กระบวนการของร่างกายก็ยังทำงานโดยเฉพาะ Anabolic state หรือการเสริมสร้างโกรธ์ฮอร์โมน และเมลาโทนิน

        การนอนหลับช่วยการเสริมสร้าง Growth hormone (โกรธ์ฮอร์โมน) และเมลาโทนิน ในเด็กจะทำให้ร่างกายเติบโต และในผู้ใหญ่จะช่วยซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท กระดูก ระบบกล้ามเนื้อ และผิวหนัง การนอนหลับจึงเป็นช่วงเวลาที่จำเป็นมาก เพราะเป็นช่วยเวลาซ่อมแซมของร่างกาย

        คนที่มีปัญหานอนไม่หลับมักมีความเครียดสูง และยิ่งคิดว่าตนเองมีความเครียดมากกว่าคนอื่น ก็ยิ่งทำให้นอนไม่หลับ และจะไปกระตุ้นคลื่นสมอง ให้ทำงานมากเกินไป และไปลด slow wave sleep ลง ซึ่งเป็นช่วงการหลั่ง Growth hormone(โกรธ์ฮอร์โมน) และเมลาโทนินออก ทำให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ไม่ดี

การนอนหลับมีกี่ระยะ

ระยะการนอนหลับ(Cycles of Sleep)แบ่งเป็น 4 ระยะ โดย 3 ระยะแรกเรียกว่า NREM (non rapid eye movement)

ระยะ 1 - N1

เป็นช่วงการนอนประมาณ 5-10 นาทีแรก ในระยะนี้ 1 วินาที คลื่นสมองจะวิ่งอยู่ที่ 8-13 Hz เป็นช่วงที่ง่วงนอน เคลิ้ม ๆ แต่ยังปลุกตื่นได้ง่าย

ระยะ 2 – N2

ระยะนี้อุณหภูมิร่างกายจะลดต่ำลง กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ใน 1 วินาที คลื่นสมองจะวิ่งอยู่ที่ 12-14 Hz เป็นช่วงการนอนประมาณ 45-55%

ระยะ 3 – N3

Deep หรือ SWS (Slow wave sleep) หรือ delta waves เป็นช่วงที่คลื่นสมองช้าที่สุด ใน  1วินาที คลื่นสมองวิ่งอยู่ที่ 0.5 – 2 Hz ระยะนี้เป็นช่วงการนอนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นช่วงการหลั่งของ Growth hormone (โกรธ์ฮอร์โมน) เป็นช่วงที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และอาจเป็นช่วงที่ฝันร้าย ปัสสาวะราด เดินละเมอ โดยระยะนี้จะเกิดเพียง 1 ใน 3 ไม่เกินครึ่งแรกของการนอน จึงมักได้ยินว่า Growth hormone (โกรธ์ฮอร์โมน) จะหลั่งเยอะ ช่วงประมาณ 00.00 – 02.00 น.

ระยะ 4

REM (rapid eye movement) เป็นช่วงที่ตากระตุก หากฝันในระยะนี้จะจำได้ง่าย

การนอนจะมีระยะการนอนหลับ(Cycles of Sleep) 4-6 รอบ รอบละประมาณ 90 นาที

ระยะเวลาการนอนหลับในแต่ละช่วงอายุ

อายุและสภาพ

ชั่วโมงการนอนหลับเฉลี่ย / วัน

เด็กแรกเกิด

มากกว่า 18 ชั่วโมง

1-12 เดือน

14-18 ชั่วโมง

1-3 ปี

12-15 ชั่วโมง

3-5 ปี

11-13 ชั่วโมง

5-12 ปี

9-11 ชั่วโมง

วัยรุ่น

9-10 ชั่วโมง

ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

7-8 ชั่วโมง

คนท้อง

มากกว่า 8 ชั่วโมง

โรคนอนไม่หลับ Insomnia คืออะไร

     โรคนอนไม่หลับ คือ การนอนหลับไม่ครบตามจำนวนชั่วโมงที่ควรนอน และนอนหลับไม่ได้คุณภาพ ติดต่อกันมากกว่า 1 เดือน

     การนอนหลับไม่ได้คุณภาพ หมายถึง นอนหลับยาก นอนหลับแล้วสะดุ้งตื่นกลางดึก ตื่นเช้าเกินไป นอนหลับไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น ง่วงนอนตอนกลางวัน ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ทำงานได้ไม่เต็มที่

การนอนไม่หลับมีกี่แบบ อะไรบ้าง

  1. การนอนไม่หลับแบบชั่วคราว มีอาการนอนไม่หลับ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เช่น เปลี่ยนที่นอน นอนต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ หรือห้องนอนไม่มืดสนิท หรือมีความเครียดแบบเฉียบพลัน
  2. การนอนไม่หลับแบบเฉียบพลัน มีอาการนอนไม่หลับ มากกว่า 1 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 1 เดือน
  3. การนอนไม่หลับเรื้อรัง มีอาการนอนไม่หลับมากกว่า 1 เดือน อาจมีอาการประสาทหลอน เห็นภาพต่าง ๆ เคลื่อนไหวช้า มีความเหนื่อยล้าทางจิตใจ และกล้ามเนื้อ

คนที่มีความเสี่ยงของการนอนไม่หลับ

  1. นอนไม่หลับในช่วงปีแรก ๆ เช่น ในเด็ก มักเกิดกับเด็กที่มีปัญหาครอบครัว พ่อแม่ทะเลาะ ทำร้ายร่างกายกัน ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบิดามารดา ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับตลอดชีวิต
  2. มาจากครอบครัวที่หย่าร้างกัน
  3. ความสัมพันธ์ในครอบครัวแย่ลง
  4. คนในครอบครัวเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต มีเหตุการณ์ในครอบครัวเชิงลบ
  5. ครอบครัววิชาการ มีความเครียดจากงาน แรงกดดันจากการทำงาน
  6. สภาพแวดล้อมการทำงานด้านจิตใจไม่ดี
  7. ดื่มคาเฟอีน ดื่มแอลกอฮอล์
  8. อายุที่เพิ่มขึ้น
  9. ห้องนอนมีอาการร้อน มีเสียงดังรบกวน ไม่มืดสนิท
  10. มีโรคประจำตัว เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, โรคข้ออักเสบ, ภูมิแพ้, วัยทอง, ต่อมลูกหมากโต
  11. คนที่ทำงานในเวลากลางคืน หรือเข้างานเป็นกะ
  12. ออกกำลังกายหนักก่อนเวลานอน
  13. มีความวิตกกังวล คิดมาก

ผลเสียของการนอนไม่หลับ

ด้านอารมณ์จิตใจ

  • ส่งผลต่ออารมณ์ จิตใจ ไม่สดชื่น
  • ความคิดการตัดสินใจช้า ไม่มีสมาธิ

เสี่ยงต่อโรค

  • ร่างกายอักเสบ
  • ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล
  • เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • เสี่ยงต่อการเป็นพาร์กินสัน
  • เสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์
  • เสี่ยงความอ้วน
  • เสี่ยงโรคเบาหวาน
  • ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
  • เสี่ยงโรคมะเร็ง

อื่นๆ

  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • ผมงอกเร็ว
  • แก่กว่าวัย ทำให้แก่เร็ว

วิธีแก้อาการนอนไม่หลับ

  • ทำสมาธิก่อนนอน
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (Alkaline Diet) หลีกเลี่ยงการทานน้ำตาล
  • Spa นวดผ่อนคลาย ทำให้หลับได้ลึกขึ้น
  • ปรับสมดุลเรื่องกลิ่น (Aroma therapy) กลิ่นลาเวนเดอร์ ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • เพิ่มวิตามิน หรือให้ฮอร์โมนเสริม
  • จัดห้องให้เหมาะสมต่อการนอน
  • หลีกเลี่ยงการดื่ม คาเฟอีน แอลกอฮอล์ ก่อนนอน 6 ชั่วโมง
  • ทานอาหารที่มี ทริปโตเฟน และแมกนีเซียม วิตามิน B3

ห้องที่เหมาะสมต่อการนอนเป็นอย่างไร

  • ในห้องนอนไม่ควรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างอื่น นอนจากพัดลม หรือแอร์
  • ห้องนอนต้องมืดสนิท
  • วางโทรศัพท์มือถือให้ห่างจากศีรษะอย่างน้อย 1 เมตร

อาหารที่ช่วยเรื่องการนอนมีอะไรบ้าง

  • เนื้อสัตว์, ปลา, นม
  • ผลไม้ เช่น กล้วย
  • ผัก เช่น ข้าว ข้าวโพด มะเขือเทศ เมล็ดฟักทอง ผักสีเขียว
  • อินทผาลัม ช็อกโกแลต

วิตามินที่ช่วยเรื่องการนอนมีอะไรบ้าง

  • เมลาโทนิน Melatonin
  • GABA
  • ทริปโตแฟน L-tryptophan
  • 5-HTP
  • DHEA
  • แมกนีเซียม Magnesium
  • Pregnenolone

        หากร่างกายมีความอ่อนเพลียมากจากอาการนอนไม่หลับ การดริปวิตามิน หรือ IV Drip จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารและวิตามินได้ถึง 100% และดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่การทานวิตามิน ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้เพียง 10-30 % เท่านั้น  

        ที่ Moriko Plus Clinic มี IV Drip ที่เป็นสูตรเฉพาะ และได้มาตรฐานตามหลักเวชศาสตร์ชะลอวัย แพทย์มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ด้านศาสตร์ชะลอวัย

สามารถสอบถามรายละเอียด หรือ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ facebook หรือ Line