ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หากฉีดฟิลเลอร์ปลอม

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หากฉีดฟิลเลอร์ปลอม

สารบัญ

          ความสวยความงาม ผิวเนียน อ่อนเยาว์ หน้าเด็ก เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และ ทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยไม่ต้องผ่า่ตัด คือ การฉีดฟิลเลอร์
          ฟิลเลอร์ เป็นสารที่ช่วยเติมเต็มร่องลึก ลดริ้วรอย ปรับรูปหน้าโดยไม่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องพักฟื้น เมื่อต้องการที่จะฉีดฟิลเลอร์ ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้

  • จุดสังเกตฟิลเลอร์แท้
  • คลินิกที่ได้รับมาตราฐาน
  • แพทย์ที่ฉีดฟิลเลอร์ ต้องมีประสบการณ์ และ มีเทคนิคในการฉีดฟิลเลอร์ที่ถูกต้อง

ฟิลเลอร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.ฟิลเลอร์ไม่ถาวร

          เป็นสารเติมเต็มประเภทไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) หรือ HA เป็นสารเลียนแบบสารที่ร่างกายสร้างได้เอง อยู่ได้ประมาณ 12 – 24 เดือน สารเติมเต็มประเภทนี้สามารถสลายได้เอง 100% จึงไม่ตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และ เป็นสารเติมเต็มชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหาร และ ยา( อย.) ของประเทศไทย

2.ฟิลเลอร์กึ่งถาวร

          ฟิลเลอร์กึ่งถาวร (Semi Permanent Filler) คือ ฟิลเลอร์ที่สามารถอยู่ได้ประมาณ 2 – 5 ปี ไม่สามารถสลายได้หมด จึงมีความปลอดภัยน้อยกว่าฟิลเลอร์แบบชั่วคราว เมื่อฉีดฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรไปนาน ๆ อาจเกิดการอักเสบ อาการแพ้ ฟิลเลอร์ไหล เป็นก้อน
          ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรได้แก่ สาร PLLA (Poly-L-lactic acid) สารแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite)

3.ฟิลเลอร์ถาวร

          ฟิลเลอร์ถาวร (Permanent Filler) เป็นฟิลเลอร์ ที่ไม่สามารถสลายได้เอง และ ผิวไม่สามารถดูดซึมได้ จึงทำให้ตกค้างในชั้นผิว เกิดเป็นฟิลเลอร์ไหลผิดรูป การรักษาจะต้องผ่าตัด หรือ ขูดออกเท่านั้น
          ฟิลเลอร์แบบถาวร ได้แก่ ซิลิโคนเหลว พาราฟิน และ สาร PMMA (Polymethyl-methacrylate microspheres)

ฟิลเลอร์ปลอม

          ในประเทศไทยฟิลเลอร์ปลอม  หมายถึง  ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรอง ขององค์การอาหาร และ ยา (อย.) ประเทศไทย ได้แก่ ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร และ ฟิลเลอร์แบบถาวร เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน
          บางกรณีอาจรวมถึงฟิลเลอร์หิ้ว เนื่องจากฟิลเลอร์หิ้ว เป็นฟิลเลอร์ที่แอบนำเข้ามาโดยที่ไม่ผ่านการรับรองขององค์การอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย อาจมีวิธีการนำเข้ารวมถึงการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากฟิลเลอร์แท้จะต้องควบคุมอุณหภูมิห้ามร้อน และ จัดเก็บอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ

ผลกระทบจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอม

             ฟิลเลอร์ปลอม ที่มักพบบ่อย ๆ คือ การนำเอา พาราฟิน และ ซิลิโครเหลว มาฉีด ซึ่งไม่สามารถสลายได้เอง จึงมีการตกค้าง และ ส่งผลเสียต่อผิว
             – หน้าผิดรูป ไม่สมดุล  ภายหลังจากฉีดฟิลเลอร์ปลอมประมาณ 3 – 5 ปี ฟิลเลอร์ปลอมที่สลายไม่หมด หรือ ไม่สามารถสลายได้ จะไหลกองรวมกันเป็นก้อน ทำให้ใบหน้าเสียทรง ผิดรูปไม่ได้สัดส่วน  ผิวหนังไม่เรียบ

             – หน้าบวม เป็นก้อน ผิวไม่เรียบ  ฟิลเลอร์ปลอมจะรวมกันเป็นก้อนแข็ง ปูด บวมออกมา สามารถเห็นได้ชัดเจน  

             – ผิวขาดเลือด เกิดเป็นเนื้อตาย  มักเกิดขึ้นจากการฉีดฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด โดยแพทย์ไม่มีเชี่ยวชาญในการฉีดฟิลเลอร์

             – อักเสบ เป็นหนอง   อาการเหล่านี้มักเกิดจากแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ หรือ ผู้ที่ไม่ใช่แพทย์เป็นคนฉีด

             – เสี่ยงติดเชื้อ  ฟิลเลอร์ปลอม หรือ ฟิลเลอร์หิ้ว อาจมีคุณภาพที่ต่ำ และ อุปกรณ์ไม่สะอาด เมื่อฉีดเข้าไปจึงทำให้บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์
เกิดการติดเชื้อ  มีอาการแสบ ร้อน บวมบริเวณผิวหนัง

จุดสังเกตฟิลเลอร์แท้

คลินิกที่ได้รับมาตราฐาน

           เมื่อจะต้องฉีดฟิลเลอร์ นอกจากการตรวจสอบว่าฟิลเลอร์ที่ฉีดนั้นเป็นฟิลเลอร์แท้แล้ว ควรตรวจสอบสถานที่ฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งหมายถึง โรงพยาบาล หรือ คลินิกที่ฉีดฟิลเลอร์ ต้องได้รับมาตราฐาน มีป้ายชื่อสถานพยาบาล มีใบประกอบสถานพยาบาล เลขที่ใบอนุญาต สามารถตรวจสอบได้ สถานที่ฉีด และ เครื่องมือ ต้องสะอาดถูกหลักอนามัย ปลอดภัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

แพทย์มีความชำนาญ

          แพทย์ที่ฉีดฟิลเลอร์ต้องมีความชำนาญ และ มีเทคนิคที่ถูกต้องในการฉีดฟิลเลอร์ สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์ได้อย่างถูกต้อง

รีวิว Moriko Clinic

Loading