Posted inบทความของเรา ฟิลเลอร์ สาเหตุการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน แล้วจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร? May 24, 2023 หลายคน อยากที่จะฉีดฟิลเลอร์ เพื่อแก้ปัญหาริ้วรอยบนใบหน้า แต่ก็มีความกังวลว่า หากฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วจะเป็นก้อนหรือไม่ ฟิลเลอร์เป็นก้อนเกิดจากอะไร แก้ไข และ ป้องกันได้อย่างไร สารบัญ ฟิลเลอร์เป็นก้อนเกิดจากอะไร? 1. เลือกชนิดฟิลเลอร์ไม่ตรงกับบริเวณที่ฉีด ฟิลเลอร์แต่ละยี่ห้อ จะผลิตออกมาหลายรุ่น โดยแต่ละรุ่นนั้น จะกำหนดบริเวณที่ฉีดแตกต่างกัน เนื่องจากชั้นผิวแต่ละบริเวณ มีความหนา ตื้น ไม่เท่ากัน เช่น ฟิลเลอร์ที่โมเลกุลมีความหนาแน่นสูง ควรฉีดในผิวชั้นลึก หากฉีดในผิวชั้นตื้น บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์จะเป็นก้อนนูนแข็งได้ 2. แพทย์ไม่มีเทคนิค และ ประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์ ความรู้ ประสบการณ์ และ เทคนิคของแพทย์ผู้ฉีดฟิลเลอร์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แพทย์จะต้องมีความรู้ในการประเมินโครงหน้า เลือกใช้ฟิลเลอร์แต่ละรุ่น และ ปริมาณให้เหมาะสมกับบริเวณที่ฉีด เพื่อให้รูปหน้าสวยเป็นธรรมชาติ 3. ฉีดฟิลเลอร์ไม่ตรงจุดที่มีปัญหา การฉีดฟิลเลอร์ได้ตรงจุด เพื่อแก้ปัญหาบนใบหน้านั้น จะขึ้นอยู่กับเทคนิค และ ประสบการณ์ของแพทย์ เช่น การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา แพทย์ต้องการฉีดในผิวชั้นลึก แต่ฉีดตื้นเกินไป ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด 4. ใช้ปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะสม การฉีดฟิลเลอร์แต่ละจุดต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากฉีดมากเกินไป นอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลือง และหากฉีดน้อยเกินไป จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 5. ใช้ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตราฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย เป็นฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร ฟิลเลอร์แบบถาวร หรือ ฟิลเลอร์หิ้ว เป็นฟิลเลอร์ที่มีคุณภาพต่ำ ไม่สามารถสลายได้เอง 100% เมื่อฉีดไปนาน ๆ ฟิลเลอร์จะไหลรวมกันเป็นก้อนแข็ง เกิดการอักเสบ และ ติดเชื้อได้ ภาวะที่เกิดจากฟิลเลอร์เป็นก้อน ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน แบ่งออกเป็น 2 ภาวะ ดังนี้ 1. ภาวะฟิลเลอร์เป็นก้อน ที่ไม่อักเสบ สามารถคลำเป็นก้อนได้ชัดเจน โดยไม่มีอาการเจ็บ และ แดงฟิลเลอร์เคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการฉีดฟิลเลอร์แล้วมีอาการบวมบริเวณที่ฉีด ประมาณ 3 – 4 วันรอดูอาการประมาณ 7-14 วัน ฟิลเลอร์จะเริ่มเข้าที่ และ อาการบวมจะดีขึ้น 2. ภาวะฟิลเลอร์เป็นก้อนที่มีการอักเสบ บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์จะมีอาการบวมขึ้นเรื่อย ๆจะมีอาการปวดมากขึ้น บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ หากกดจะมีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ จะเปลี่ยนสี โดยจะมีสีแดงไปจนถึงคล้ำผิวหนังมีลักษณะเป็นหนอง หรือ ฝีมีอาการร้อนบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนแก้ไขอย่างไร? 1.ฉีดสลายฟิลเลอร์ จะทำได้เฉพาะกับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์แท้ (Hyaluronic Acid) โดยใช้ตัวยาชื่อ ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase ) ในการสลายฟิลเลอร์ที่เป็นก้อน สามารถสลายได้ทันที แต่ในบางบริเวณต้องใช้เวลาประมาณ 3 – 7 วัน2.ขูดฟิลเลอร์ ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร ฟิลเลอร์จะไม่สามารถสลายเองได้หมด ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรจะมีลักษณะเป็นก้อนอ่อน ไม่สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ และ การขูดออกสามารถนำฟิลเลอร์ออกได้เพียง 60 – 70% ไม่สามารถเอาออกได้หมด3.ผ่าตัดเอาฟิลเลอร์ออก จะใช้กับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ถาวร หรือ ผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์มาเป็นเวลานานจนเป็นพังผืด แต่ถึงอย่างไรการผ่าตัดเอาฟิลเลอร์ออก ในบางตำแหน่งก็ไม่สามารถเอาออกได้หมด วิธีป้องกัน 1.ก่อนฉีดฟิลเลอร์ควรศึกษาข้อมูลของฟิลเลอร์ ตรวจสอบว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ ไม่ซื้อฟิลเลอร์หิ้ว หรือ ฟิลเลอร์ที่มีราคาถูกจนเกินไป 2.ศึกษาข้อมูลของคลินิกที่จะไปฉีดฟิลเลอร์ ต้องเป็นคลินิกที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น 3.เลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่มีความชำนาญ และ มีเทคนิคในการฉีดฟิลเลอร์ที่ถูกต้อง รีวิว Moriko Clinic Related posts:ฟิลเลอร์คืออะไร? ฟิลเลอร์ช่วยอะไร? ฉีดตรงไหนได้บ้าง?ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?แค่นอนหลับร่างกายก็หายป่วย Post navigation Previous Post ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หากฉีดฟิลเลอร์ปลอมNext Postทำไมจึงนิยม e.p.t.q. ฟิลเลอร์นำเข้าจากแดนเกาหลี