มาทำความรู้จักกับ “ฮอร์โมน” สารสำคัญจากต่อมไร้ท่อกัน!

มาทำความรู้จักกับ “ฮอร์โมน” สารสำคัญจากต่อมไร้ท่อกัน!

สารบัญ

ฮอร์โมนคืออะไร?

          “ฮอร์โมน” คำคุ้นหู ที่มักได้ยินจากหมอ แต่ก็ไม่เคยรู้เลยว่าจริง ๆ แล้ว “ฮอร์โมน” คืออะไร แล้วการเจ็บป่วยของร่างกายเกี่ยวอะไร
กับฮอร์โมน วันนี้ หมอเบิร์ด มีคำตอบ

ฮอร์โมนทำงานอย่างไร?

          เมื่อต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนออกมา ฮอร์โมนจะถูกดูดเข้ากระแสเลือด หลังจากนั้นกระแสเลือดจะพาฮอร์โมนวิ่งไปยังเซลล์เป้าหมาย
ตามเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย จึงทำให้ฮอร์โมนสามารถวิ่งไปได้ทั่วร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น มีฮอร์โมนออกจากรังไข่ ฮอร์โมนรังไข่ก็วิ่งไปที่สมองได้เนื่องจากกระแสเลือดพาไป

         สิ่งที่ทำให้แต่ละเซลล์ในร่างกายแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับตัวรับ โดยฮอร์โมนแต่ละชนิด เปรียบเสมือน “กุญแจ” กุญแจของฮอร์โมน
แต่ละชนิด จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน และเซลล์ของอวัยวะแต่ละชนิดจะมีรูกุญแจ(Recepter) ที่แตกต่างกัน

          เมื่อเสียบกุญแจแล้วไขไม่ได้ ฮอร์โมนจะไม่สามารถเข้าไปในเซลล์นั้น แต่ในทางกลับกันหากเสียบกุญแจแล้วไขได้ ฮอร์โมนจะเข้าไปในเซลล์นั้นและออกฤทธิ์ ทำให้เซลล์มีรูปร่าง การทำงานที่ต่างกัน 

ฮอร์โมนมีหน้าที่อย่างไร?

          ฮอร์โมนมีหน้าที่ควบคุม หมายถึง ฮอร์โมนไม่ได้ให้สารอาหารเหมือนกับวิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง
ของโครงสร้างร่างกาย

          แต่ฮอร์โมนมีหน้าที่สั่งกระบวนการทำงานของร่างกายที่มีอยู่แล้ว โดยภายในเซลล์จะมีการทำงานหลายอย่าง หากเปรียบเซลล์เป็นโรงงาน ภายในโรงงานจะมีเครื่องจักรอยู่หลายตัว ฮอร์โมนจะเป็นตัวสั่งว่าให้เครื่องจักรไหนทำงาน (กระตุ้น) หยุดทำงาน (ยับยั้งการสลาย) หรือปรับสมดุลการสร้างพลังงานของร่างกาย

          ฮอร์โมนจึงควบคุม การเจริญเติบโต (growth), การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (differentiation), การซ่อมแซมตัวเอง (regeneration),
ระบบสืบพันธุ์ (reproduction), เม็ดสี (pigmentation), พฤติกรรม (behavior), กระบวนการเผาผลาญ (metabolism), ควบคุมสมดุลสารเคมี (chemical homeostasis)

อวัยวะใดบ้างที่หลั่งฮอร์โมน?

  • สมอง (Pineal gland) หลั่ง Melatonin
  • ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) หลั่ง ADH, Oxytocin, Growth Hormone, Prolactin
  • ต่อมไทรอยด์ หลั่ง Thyroid Hormone
  • ต่อมไทมัส หลั่ง Parathyroid Hormone
  • ต่อมหมวกไต หลั่ง Norepinephrine, Epinephrine, Cortisol, Aldosterone
  • ตับอ่อน หลั่ง Insulin, Glucagon
  • รังไข่ หลั่ง Estrogen, Progesterone
  • อัณฑะ หลั่ง Testosterone

ระยะเวลาการทำงานของฮอร์โมนเป็นอย่างไร?

          ฮอร์โมนจะถูกหลั่งออกมาเข้ากระแสเลือดในปริมาณที่น้อยมากๆ
และใช้ระยะเวลาในการออกฤทธิ์แบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น วินาที, นาที, ชั่วโมง, วัน หรือเป็นสัปดาห์ 

        นอกจากฮอร์โมนจะทำให้เซลล์แตกต่างกันแล้ว ยังทำให้แต่ละคนดูแตกต่างกันโดยที่เราสามารถแยกออกได้ว่า ใครอยู่ในช่วงอายุประมาณเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงอายุ 0-10 ปี,10-20 ปี, 20-40 ปี, 40-60 ปี และ 60-80 ปี

ระดับฮอร์โมนในแต่ละช่วงอายุแตกต่างกันอย่างไร?

          เด็กช่วงอายุประมาณ 0-10 ปี ยังไม่สามารถแยกเพศจากการดูหน้าเด็กได้ชัดเจน เช่น
เด็กผู้ชายที่ไว้ผมยาว อาจถูกมองว่าเป็นเด็กผู้หญิงก็ได้

          ช่วงอายุ 10-20 ปี สามารถแยก เพศหญิง เพศชายได้แล้ว เว้นแต่จะไปกินยาฮอร์โมนบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถแยกเพศได้

          ช่วงอายุ 20- 40 ปี สามารถแยกเพศหญิง เพศชายได้ และเป็นช่วงที่ฮอร์โมนของเราดีที่สุด
ในชีวิต หลังจากนั้นจะค่อยๆลดลง

          ช่วงอายุ 40-60 ปี จะดูแตกต่างออกไป สามารแยกได้ชัดเจน

          ช่วงอายุ 60–80 ปี ก็จะมีลักษณะที่เปลี่ยนไป

          ระดับฮอร์โมนของคนเรานั้นจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนถึงช่วงอายุ 20-40 ปี หลังจากนั้นจะลดลงตามธรรมชาติ แต่จะลดลงเร็ว หรือช้า
ขึ้นอยู่กับความเสื่อมของร่างกาย

หากมีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนจะเป็นอย่างไร?

          จากที่ฮอร์โมนมีหน้าที่ควบคุมการทำงานในหลาย ๆ ด้านของร่างกาย เมื่อเกิดภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ร่างกายจะมีอาหารต่างๆ
แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น

  • ดูแก่กว่าวัย
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • นอนไม่หลับ นอนไม่ได้ประสิทธิภาพ นอนหลับไม่สนิท
  • มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • ผิวแห้ง เล็บเปราะ ผมร่วง
  • หิวบ่อย กินจุ
  • หลงๆ ลืมๆ ความจำไม่ดี
  • อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
  • ความต้องการทางเพศลดลง

ปัจจัยใดบ้างมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน

          การหลั่งของฮอร์โมน จะส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย หากต้องการให้ร่างกายเสื่อมช้า และทำให้ฮอร์โมนสมดุล จะต้องมีวิถีชีวิต
หรือไลฟ์สไตล์ที่ดี ได้แก่

  • อาหาร – ควรกินอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด เพราะอาหารที่มีแปรรูป ได้รับความร้อนสูงๆ หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูงๆ
    จะส่งผลให้สารอาหาร และกากใยหายไป รวมถึงทำให้เกิดอนุมูลอิสระ
  • อาหารเสริม – จากอาหารปัจจุบัน พบว่ามีคนที่ขาดสารอาหารจำนวนมาก เมื่อขาดสารอาหารร่างกายจะซ่อมแซมตนเองไม่พอ
    จึงควรทานสารอาหารเสริมเพิ่มเติม
  • การนอน – จะต้องนอนหลับได้โดยที่ไม่ใช้ยานอนหลับ นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนอนได้ 7-9 ชั่วโมง
  • การออกกำลังกาย – การไม่ออกกำลังกาย ถือเป็นความเสี่ยงของสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ แต่การออกกำลังกายก็ทำให้ร่างกาย
    เกิดอนุมูลอิสระ คนที่ออกกำลังจึงควรกินสารต้านอนุมูลอิสระด้วย
  • ความเครียด – เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย หลายคนอาจคิดว่าตนเองไม่ได้เครียด แต่พฤติกรรมที่ทำนั้น
    ทำให้ร่างกายเครียด เช่น การนอนดึก อดนอน อดอาหาร ทำ IF
  • ผ่อนคลาย – หากิจกรรมที่ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ ฟังเพลง ดูหนังตลก อ่านหนังสือท่องเที่ยว

          การที่มีวิถีชีวิต และไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ทำให้การแก้ปัญหาฮอร์โมนของแต่ละคนแตกต่างกันไปด้วย สามารถสอบถาม และปรึกษา
เพื่อปรับไลฟ์สไตล์ให้ดียิ่งขึ้นได้ที่ Moriko Plus Clinic

Loading